Lecture

Author: Jarjabing /

เรื่องที่ 1 การเลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์

เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์ ( Designing Web Colors)
                สีสันในหน้าเว็บเพจ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ เนื่องจากสิ่งแรกที่พวกเขามองเห็นจากเว็บเพจก็คือ สี ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศและความรู้สึกโดยรวมของเว็บไซต์ เราสามารถใช้สีได้กับทุกองค์ประกอบของเว็บเพจ ตั้งแต่ตัวอักษร,รูปภาพ,ลิงค์,สีพื้นหลัง และรูปภาพพื้นหลัง การเลือกใช้สีอย่างเหมาะสมจะช่วยในการสื่อความหมายของเนื้อหา และเพิ่มความสวยงามให้กับหน้าเว็บนั้น แต่ในทางกลับกัน สีที่ไม่เหมาะสมอาจสร้างความยากลำบากในการอ่านหรือรบกวนสายตาผู้ใช้ รวมทั้งอาจทำให้การสื่อสารความหมายไม่ถูกต้องได้

ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์
                สีเป็นเครื่องมืออเนกประสงค์อย่างหนึ่งที่มีความสำคัญมากในการออกแบบเว็บไซต์ เนื่องจากสีสามารถสื่อถึงความรู้สึกและอารมณ์ และยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่กับเวลาอีกด้วย ดังนั้นสีจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความหมายขององค์ประกอบให้กับ
เว็บเพจได้ อย่างดี

วงล้อสี

วงล้อสีแบบลบ ( Subtractive Color Wheel )
สีขั้นต้นในวงล้อสีแบบลบประกอบด้วย สีแดงแกมม่วง ( magenta ) สีน้ำเงินแกมเขียว ( cyan ) และสีเหลือง ( yellow ) ส่วนสีอื่นๆอาศัยหลักการผสมสีแบบลบได้เป็นสีที่เหลือทั้งหมด

วงล้อสีแบบบวก ( Additive Color Wheel )

วงล้อสีแบบบวกนี้ดูคล้ายๆกับวงล้อสีแบบลบ แต่มีความสมดุลของสีที่ต่างกันอย่างมาก ตรงที่สีโดยส่วนใหญ่ถูกครอบคลุมด้วยสีน้ำเงินและเขียว ขณะที่สีเหลืองและสีแดงมีผลเพียงเล็กน้อยในวงล้อสีแบบนี้ เช่นเดียวกับการกระจายตัวของสีในสเปกตัม ซึ่งมีลักษณะเด่นของความยาวคลื่นแสงสีน้ำเงิน และมีส่วนของความยาวคลื่นแสงสีแดง


เรื่องที่ 2  การออกแบบเนวิเกชันสำหรับเว็บ


องค์ประกอบของระบบเนวิกเกชันหลัก (Main Navigation Elements)
                ระบบเนวิกเกชันที่สำคัญและพบได้มากที่สุดคือ เนวิเกชันที่อยู่ในหน้าเดียวกับเนื้อหา ไม่ใช่เนวิกเกชันที่อยู่ในหน้าแรก เนื่องจากเมื่อผู้ใช้ผ่านหน้าแรกเข้าไปสู่ภายในเว็บไซท์แล้ว ก็ไม่อยากจะกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่หน้าแรกทุกครั้งก่อนจะเข้าไปดูเนื้อหาในส่วนอื่นๆต่อ ระบบเนวิเกชันหลักทั้งแบบโกบอลและแบบโลคอล จึงช่วยให้ผู้ใช้สามารถย้ายจากหน้าใดๆ ไปสู่ส่วนอื่นในเว็บไซท์ได้อย่างคล่องตัว องค์ประกอบของเนวิกเกชันมีได้หลายรูปแบบ
เนวิเกชันบาร์ (Nevigation Bar)
                เนวิเกชันบาร์เป็นระบบพื้นฐานที่ใช้ได้หลายรูปแบบทั้งแบบลำดับชั้น  แบบโกลบอล  และแบบโคบอล  โดยทั่วไปเนวิเกชันบาร์จะประกอบด้วยกลุ่มของลิงค์ต่าง ๆ  ที่อยู่รวมกันในบริเวณหนึ่งของหน้าเว็บ  โดยอาจจะเป็นตัวหนังสือหรือกราฟิกก็ได้  และถือเป็นรูปแบบของระบบเนวิเกชันที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
เนวิเกชันบาร์ระบบเฟรม (Frame-Based)
                การสร้างเนวิเกชันบาร์โดยใช้ระบบเฟรมเป็นอีกวิธีที่ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนวิเกชันได้ง่าย และสม่ำเสมอ  คุณสมบัติของเฟรมจะทำให้คุณสามารถแสดงเว็บหลาย ๆ  หน้าไว้ในหน้าต่างบราวเซอร์เดียวกัน  โดยที่แต่ละหน้ายังเป็นอิสระต่อกัน  การลิงค์จากเฟรมที่เป็นเนวิเกชันบาร์สามารถควบคุมการแสดงผลของข้อมูลในอีกเฟรมหนึ่งได้  ดังนั้นส่วนที่เป็นเนวิเกชันบาร์จะปรากฏอยู่คงที่เสมอ  ในขณะที่ผู้ใช้เลื่อนดูข้อมูลใด ๆ  ก็ตามในอีกเฟรมหนึ่ง  การแยกระบบเนวิเกชันบาร์ออกจากหน้าข้อมูลในลักษณะนี้  จะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงระบบเนวิเกชันได้ตลอดเวลา  และยังคงความสม่ำเสมอทั่งทั้งเว็บไซต์

เรื่องที่ 3  หลักการออกแบบหน้าเว็บ


สร้างลำดับชั้นความสำคัญขององค์ประกอบ (Visual Hierarchy)
                หลักสำคัญในการออกแบบหน้าเว็บอย่างหนึ่งก็คือ  การสร้างลำดับชั้นความสำคัญขององค์ประกอบต่าง ๆ  ภายในหน้าเว็บ  เพื่อเน้นให้เห็นว่าอะไรเป็นเรื่องสำคัญมาก  สำคัญรองลงไปหรือสำคัญน้อยตามลำดับการจัดระเบียบขององค์ประกอบอย่างเหมาะสม  จะช่วยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ  ในหน้าเว็บได้  ในการออกแบบคุณจึงควรให้ความสนใจกับปัจจัยเหล่านี้ด้วย
                ขนาดเปรียบเทียบ (relative size)  ขององค์ประกอบต่าง ๆ  ในหน้าเว็บจะช่วยสื่อความหมายถึงความสำคัญของสิ่งหนึ่งต่อสิ่งอื่น ๆ  โดยองค์ประกอบที่มีขนาดใหญ่ย่อมสามารถดึงความสนใจของผู้ใช้ได้ก่อน  และยังแสดงถึงความสำคัญที่มีเหนือองค์ประกอบขนาดเล็ก  ตัวอย่างที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไปก็คือ  การกำหนดหัวข้อเรื่องต่าง ๆ  ให้มีขนาดใหญ่กว่าส่วนของเนื้อหาเสมอ  เพื่อแสดงให้ผู้ใช้มองเห็นได้ชัดเจนและเข้าใจจุสำคัญของเนื้อหาได้ดีขึ้น  แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณกำหนดให้ส่วนของหัวข้อมีขนาดเล็กกว่าเนื้อหาก็จะส่งผลให้ผู้ใช้เกิดความสับสนได้ทันที
สร้างรูปแบบ บุคลิก และสไตล์
รูปแบบ การเลือกรูปแบบของหน้าเว็บที่เหมาะสม จะช่วยสร้างความเข้าใจของผู้ใช้ได้ดีขึ้น โดยคุณสามารถจำลองรูปแบบของสิ่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาของเว็บไซท์ไปใช้ได้ เช่น เว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาพยนตร์ก็อาจจะออกแบบหน้าเว็บให้คล้ายกับโรงภาพยนตร์จริงๆ
บุคลิก เว็บไซท์แต่ละประเภทอาจมีบุคลิกลักษณะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและเป้าหมายในการนำเสนอ บุคลิกที่เหมาะสมกับเนื้อหาย่อมทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้ดีขึ้น เว็บไซท์แต่ละแห่งสามารถให้ความรู้สึกสนุกสนาน,เชี่ยวชาญ,วิชาการ,ทันสมัย,ลึกลับ หรือเป็นทางการ ตัวอย่างเช่น ในการออกแบบเว็บที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี คุณก็ควรออกแบบให้ แสดงถึงความทันสมัย ไฮเทค เช่นเดียวกับเนื้อหาภายในเว็บไซท์ ด้วยเหตุนี้เองเว็บไซท์ 2 แห่งที่มีเนื้อหาเหมือนกัน แต่มีบุคลิกต่างกันก็จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันได้
สไตล์  สไตล์ในที่นี้หมายถึงลักษณะการจัดโครงสร้างของหน้า,รูปแบบกราฟิก,ชนิดและการจัดตัวอักษร,ชุดสีที่ใช้ และรวมถึงองค์ประกอบอื่นๆทั้งหมด คุณไม่ควรสร้างสไตล์ของเว็บไซท์ตามอำเภอใจ โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม และจะต้องระวังเป็นพิเศษ เมื่อนำกราฟิกจากเว็บไซท์อื่นที่มีสไตล์แตกต่างจากของคุณเข้ามาใช้ นอกจากนี้รูปแบบของกราฟิกต่างๆ รวมถึงสไตล์ของเว็บไซท์ควรมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาในเว็บไซท์อย่างมีเหตุผล ไม่ใช่ใช้เพียงเพื่อแสดงฝีมือว่าคุณสามารถตกแต่งกราฟิก โดยใช้เทคนิคแปลกๆได้